กลุ่มอุตสาหกรรม พลังงานหมุนเวียน

Published

29 มีนาคม 2564

วันศุกร์ที่ 26 มี.ค. 2564 ณ ห้องประชุมปาล์มแก้ว อาคาร 63 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท. ร่วมกับมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดงานประกวดรอบสุดท้ายของโครงการ Renewable Energy for Startup 2020

งานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน และเลขาธิการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดงานโดยคุณพรอรัญ สุวรรณพลาย รองประธานกลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน และกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คุณพรอรัญ สุวรรณพลาย รองประธานกลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท และกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน, คุณทวี จงควินิต รองประธานกลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท. และ กรรมการ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน, คุณอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท และ กรรมการ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน , คุณพฤทธิพล สร้อยสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการกลุ่มฯพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน และมีนักศึกษานำผลงานมาแสดงรอบตัดสิน รวมทั้งสิ้น 21 ทีม และมีทีมที่ได้รับรางวัล ดังนี้

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษามูลค่า 50,000 บาท พร้อมศึกษาดูงานต่างประเทศ กับกลุ่มฯ พลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท.
ทีม Wifi Repeater พลังงานแสงอาทิตย์

จุดประสงค์คือ เพื่อต้องการขยายสัญญาน Wifi ให้ไกลขึ้นกรณีในที่ห่างไกล ไม่มีไฟฟ้าและสัญญาณ Wifi ไม่มีเสาไฟฟ้าและไม่ต้องการเดินสายไฟก็สามารถใช้อุปกรณ์นี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟเพียงแค่หาที่ติดตั้งที่มีแสงแดดเพียงพอ เช่น ชุมชนต่างจังหวัด เกษตรกรรม ไร่นา ฯลฯ

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษามูลค่า 30,000 บาท
ทีมกุ้งเต้น

เครื่องวัดค่า pH ในบ่อกุ้งเพื่อบันทึกข้อมูลเเละส่งให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยใช้ Solar Cell เป็นเเหล่งพลังงาน เนื่องจากบริเวณบ่อกุ้ง ต้องมีเเสงเเดดทั้งวัน

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ทุนการศึกษามูลค่า 20,000 บาท
ทีม Hawkeye – เครื่องไล่นกพิราบ

เครื่องไล่นกพิราบ ด้วยคลื่นจาก Buzzer โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งบนหลังคาหรือระเบียง อาคารบ้านเรือน หรือโรงงาน เป็นต้น

รางวัลชมเชย ทุนการศึกษามูลค่ารางวัลละ 10,000 บาท 2 ทีม คือ
ทีมน้ำยาฆ่าเชื้อจากเซลล์แสง,
ทีมThermal delivery bag from flexible solar cell – SAGE Team

งานดังกล่าว นักศึกษาที่ส่งทีมร่วมประกวดได้นำเสนอชิ้นงานและความคิดเรื่องพลังงานในทางที่สร้างสรรค์และสามารถพัฒนาต่อยอดในโอกาสต่อไป และได้มอบหนังสือ AEDP ภาคประชาชน พร้อมนี้ด้วย