กลุ่มอุตสาหกรรม พลังงานหมุนเวียน

Published

29 กันยายน 2563

เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกนับว่าเป็นสิ่งท้าทายให้มนุษย์เปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต โดยเฉพาะการเปลี่ยนรูปแบบของพลังงาน มีความพยายามพัฒนาวัสดุใหม่ๆ ช่วยในการลดภาวะโลกร้อนแบบที่ไม่ต้องพึ่งพาการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด

เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส หรือยูซีแอลเอ ในสหรัฐอเมริกา ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีใหม่ที่ให้แนวโน้มในการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเอทิลีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเอทิลีนจัดว่าเป็นสารเคมีสำคัญที่ใช้ในการผลิตพลาสติก ตัวทำละลายเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สำคัญอื่นๆ มากมายทั่วโลก ทีมได้พัฒนาสายทองแดงขนาดนาโนที่มีพื้นผิวรูปทรงพิเศษเพื่อใช้เร่งปฏิกิริยาทางเคมีที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จริงๆ แล้วแนวคิดในการใช้ทองแดงเพื่อเร่งปฏิกิริยานี้มีมานานแล้ว แต่กุญแจสำคัญคือการเร่งอัตราเพื่อให้เร็วเพียงพอสำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมจากยูซีแอลเอ เผยว่า การทดลองผสมผสานให้สมบูรณ์และวิเคราะห์เชิงทฤษฎีนี้ ได้นำเสนอแนวทางในการรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงหนทางใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน.

Credit : Yu Huang and William A. Goddard III

Soure : ไทยรัฐออนไลน์